เมนู

เป็นธาตุประการหนึ่ง โดยความเป็นอายตนะประการหนึ่ง โดยเป็น
ปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุย่อม
เป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี 3 ประการ ภิกษุฉลาดในฐานะ 7 ประการ
ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี 3 ประการ เราเรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจอยู่
จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.
จบ สัตตัฏฐานสูตรที่ 5

อรรถกถาสัตตัฏฐานสูตรที่ 5



ในสัตตัฏฐานสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สตฺตฏฺฐานกุสโล ได้แก่ผู้ฉลาดในโอกาส 7 ประการ.
บทว่า วุสิตวา ได้แก่ผู้อยู่จบพรหมจรรย์. บทว่า อตฺตมปริโส ได้แก่
บุรุษผู้ประเสริฐที่สุด. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในที่นี้
นั่นแล. แต่พระสูตรนี้พึงทราบว่า ประกอบด้วยความเพลิดเพลินมาก
และเป็นที่ตั้งแห่งความยั่วยวน เหมือนพระราชาชนะสงครามแล้ว
สถาปนาเหล่าทหารที่ชนะสงครามไว้ในตำแหน่งสูง แล้วพระราชทาน
สักการะแก่ทหารเหล่านั้น เพราะเหตุไร ? เพราะพวกคนที่เหลือ
เห็นสักการะของทหารเหล่านั้น จักสำคัญเพื่อเป็นคนกล้าบ้าง ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีตลอดกาลหาประมาณมิได้
ทรงชนะกิเลสมาร ณ มหาโพธิมณฑล ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ประทับ นั่ง ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี เมื่อจะแสดงพระสูตรนี้
จึงยกพระขีณาสพขึ้นชมเชยสรรเสริญ เพราะเหตุไร ? เพราะ
เสขบุคคลที่เหลือ จักสำคัญพระอรหัตตผลว่า ควรบรรลุ ด้วยประการ
ฉะนี้. พระสูตรนี้ พึงทราบว่า ประกอบด้วยความเพลิดเพลินมาก